
เทคนิคถ่ายภาพเบื้องต้น เทคนิคถ่ายภาพเบื้องต้นสำหรับมือใหม่ นี้ไม่ว่าเราจะเป็นมือใหม่หรือว่าจะเป็นคนที่มีประสบการณ์ถ่ายภาพมาบ้างแล้ว
แต่เชื่อว่าทิปส์ทั้ง 10 อย่างนี้จะช่วยปรับปรุงการถ่ายภาพของเราให้ออกมาดีขึ้นแบบง่าย ๆ กันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นพื้นฐานหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องการถ่ายภาพมากขึ้น
เทคนิคถ่ายภาพเบื้องต้นสำหรับมือใหม่
1. กฎสามส่วน หรือ RULE OF THIRD ซึ่งในต่างประเทศใช้ RULE OF THIRD หมายถึงทั้ง กฎสามส่วน และ จุดตัดเก้าช่อง
กฏนี้ช่วยให้เราถ่ายภาพที่น่าสนใจ สะดุดตาได้ โดยกฎสามส่วน และจุดตัดเก้าช่องนี้ เป็นพื้นฐานที่ยังไงก็ต้องสัมผัสและเข้าใจให้ได้ ซึ่งภาพที่ดูน่าสนใจนั้นใช้การจัดองค์ประกอบภาพโดยใช้กฎสามส่วน
และจุดตัดเก้าช่องแทบทั้งนั้นเลย ในการใช้ Rule of Third ให้เราจินตนาการถึงเส้นสี่เส้น แนวนอนสอง และแนวตั้งสอง โดยทั้งหมดนี้จะสร้างเป็นตาราง 9 ช่องด้วยกัน
ซึ่งการจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสมนั้นก็ตามนั้นเลย ที่เราเรียกจุดตัดเก้าช่องเพราะเราจะวางวัตถุหรือสิ่งที่น่าสนใจไว้ตรงจุดตัดนั่นแหละ ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพต้นไม้ ขอบฟ้า
ถ้าเราวางจุดสนใจไว้ตรงจุดตัดก็จะทำให้คนดูเพ่งความสนใจไปตรงนั้นนั่นเอง ซึ่งการใช้กฎสามส่วนหรือ Rule of Third นี้ เป็นเรื่องจำเป็นมาก ๆ สำหรับการเริ่มต้นถ่ายภาพให้ดูสมดุลและมีความน่าสนใจครับ
หากอยากจะลงลึกกว่านี้เรื่องการใช้ กฎสามส่วน และจุดตัดเก้าช่อง สามารถอ่านเพิ่มได้จากทั้งสอบบทความนี้ครับ
2. หลีกเลี่ยงการที่ทำให้กล้องสั่นไหว การทำให้เกิดภาพเบลอ (ควรเข้าใจด้วยว่าทำไมภาพนี้ถึงชัด ภาพนี้ถึงเบลอ เกิดจากอะไร?)
กล้องสั่นหรือเบลอ เป็นสิ่งที่คนถ่ายรูปไม่ว่าจะเริ่มต้นหรือมีประสบการณ์แล้วต้องเซ็งแน่ ๆ แต่สำหรับมือใหม่นี่คือวิธีที่หลีกเลี่ยงเรื่องการสั่นไหวของกล้องหรือเบลอได้ครับ
ขั้นแรก เราก็ต้องเรียนรู้การถือกล้องอย่างถูกต้อง (เบสิกสุด) ใช้มือทั้งสองข้างถือกล้องไว้ ด้านขวาจับที่กล้องและ Grip ให้กระขับมือ ส่วนมือซ้ายประคองเลนส์ไว้ อันนี้พื้นฐานหลายคนก็รู้แล้วแหละ แต่ก็ยังมีอีกเรื่องนึง
การถ่ายภาพด้วยการถือกับมือเปล่า ๆ ควรตรวจสอบว่าเราใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมกับทางยาวโฟกัสของเลนส์เราไหม หากความเร็วชัตเตอร์ของเราช้าเกินไป
การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นตัวกล้องเอง หรือมือเรา มันก็จะทำให้ภาพออกมาเบลอ กฎง่าย ๆ ที่ไม่ควรลืมคือ ถ้าจะถือด้วยมือเปล่าอย่าใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่าทางยาวโฟกัสครับ
ดังนั้นถ้าเราใช้เลนส์ระยะ 100mm ความเร็วชัตเตอร์เราก็ไม่ควรจะต่ำกว่า 1/100 ครับ ในกรณีที่ถือกับมืออะนะ เว้นแต่ว่ากล้องจะมีระบบชดเชยกันสั่นที่ดี หรือใช้ถ่ายภาพกับขาตั้ง ก็สามารถชดเชยตรงนี้ได้ แต่ในประเด็นนี้ให้เข้าใจก่อนว่า ความเร็วชัตเตอร์ไม่ควรน้อยกว่าทางยาวโฟกัสครับ
3. ทำการบ้านเรื่อง EXPOSURE TRIANGLE ความสัมพันธ์ของสามค่า SHUTTER SPEED – ISO – APERTURE
เพื่อให้ภาพถ่ายของเราได้ค่าแสงที่โอเคที่สุด ตรงตามความต้องการที่สุด เราควรจะเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ของค่าแสง หรือ Exposure Triangle จะมีสามค่าด้วยกันคือ Aperture หรือ รูรับแสง, Shutter Speed หรือ ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO หรือค่าความไวแสง
นอกจากนี้เรายังจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมทั้งสามค่านี้ เมื่อเราปรับตัวเลือกเหล่านี้สักตัว เราก็ต้องเข้าใจว่ามันจะกระทบอะไรกับภาพถ่ายของเรา หรือกระทบกับค่าอื่น ๆ ที่เหลือหรือเปล่า
ดังนั้นเรื่อง Exposure Triangle เลยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ดังนั้นถ้าหากว่าเราอยากจะอ่านเพิ่มเติมเรื่องนี้ผมทำไว้เรียบร้อยแล้วครับ